วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

รายได้, โอกาสหางาน, ความก้าวหน้าในอาชีพ, คุณสมบัติที่ดี และปัจจัยเสี่ยง





รายได้

จาก Accountants and Auditors: BLS
     ปี 2015 รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $32.30 ต่อชั่วโมง และ $67,190 ต่อปี ต่ำสุด 10% มีรายได้ต่ำกว่า $41,400 และสูงสุด 10% มีรายได้มากกว่า $118,930 สาขาของนักบัญชีที่มีรายได้เฉลี่ยมากที่สุดคือสาขาการเงินและประกันภัย อยู่ที่ $71,760 และสาขาที่รายได้เฉลี่ยน้อยที่สุดคือสาขารัฐบาล(ข้าราชการ) อยู่ที่ $65,180

จาก http://www.accountancy.in.th/service/category-one/accountant.html
     สภาพการจ้างงาน ในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา ส่วนในภาคเอกชน จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทหรือองค์กรที่จ้างงานพนักงานบัญชี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดที่แน่นอนตายตัว ค่าจ้างที่ได้รับโดยเฉลี่ยมีดังนี้
     วุฒิการศึกษา ปวส. ราชการ เงินเดือน 8,000 บาท ส่วนเอกชน 9,000 บาท, หากวุฒิการศึกษาปริญญาตรี ราชการ 10,000 เอกชน 12,000 บาท

จาก รู้จักอาชีพ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
     จากขอมูลการปรับอัตราเงินเดือนขาราชการ (สํานักงาน ก.พ.) ใช้บังคับ มกราคม 2556 ดังนี้

  • ปวส. 10,500 – 11,550 บาท 
  • ปริญญาตรี 15,000 – 16,500 บาท 
  • ปริญญาโท 17,500 – 19,250 บาท  

     สําหรับคาจางรายอาชีพภาพรวมทั่วประเทศ ป 2554 : กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน ไดศึกษาพบวาอาชีพนักบัญชีทั่วไป, สมุหบัญชีได้รับคาจ้างสูงสุดเดือนละ 35,000 บาท ตํ่าสุดเดือนละ 5,000 บาท คาจางเฉลี่ยเดือนละ 9,342 บาท

โอกาสในการมีงานทำ

     ในการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่จะต้องมีพนักงานบัญชีทำงานด้านบัญชี ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาชีพพนักงานบัญชียังคงเป็นที่ต้องการทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านบัญชีสามารถที่จะประกอบอาชีพในหน่วยงานต่างๆ ได้หลายแห่ง ทั้งที่เป็นหน่วยงานของราชการ และเอกชน นอกจากนี้ยังสามารถที่จะรับงานบัญชีไปทำที่บ้านได้ และเมื่อพนักงานบัญชีทำงานจนมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (กบช.) กำหนดไว้ ก็มีสิทธิที่จะสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตได้



ความก้าวหน้าในการทำงาน
     สามารถเขียนเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
  1. เป็นสมุห์บัญชี หรือตำแหน่งเกี่ยวกับบัญชีขององค์การธุรกิจ หรือองค์การรัฐบาล
  2. ทำหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณ หรือแผนกการเงิน ในบริษัทเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ
  3. ทำงานในธนาคาร บริษัทประกันภัย
  4. ทำงานในองค์การรัฐบาลในหน้าที่ผู้บริหารการเงิน ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน
  5. ประกอบอาชีพอิสระ เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาติ
  6. เป็นอาจารย์สอนวิชาบัญชีในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ
  7. สามารถพัฒนางานเลื่อนระดับเป็นผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการ และธุรกิจเอกชนได้ในโอกาสต่อไป หรือศึกษาต่อระดับปริญญาโท-เอกก็ได้

คุณสมบัติที่ดีในการเป็นนักบัญชี
  1. ซื่อสัตย์ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เนื่องจากนักบัญชีจะรับทราบตัวเลขความเคลื่อนไหวทางการเงินของบริษัทอยู่ตลอดเวลา นักบัญชีที่ดีจะไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆ ทางการเงินของบริษัทเด็ดขาด
  2. ขยัน อดทน รับผิดชอบงานในหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นนักบัญชีกลับบ้านดึกกว่าแผนกอื่นเสมอ
  3. ละเอียดรอบคอบ ถี่ถ้วน ในการมอบหรือรับมอบเอกสารเกี่ยวกับการเงิน ควรเรียกเก็บหลักฐานทางการเงิน และตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง ควรจัดเก็บเอกสารการเงิน การบัญชีทุกฉบับไว้ในที่ปลอดภัย ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
  4. มีความรู้แน่นภาคทฤษฎี และประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธุรกิจได้ นักบัญชีจำเป็นต้องนำทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่าง ถูกต้องแม่นยำ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับธุรกิจได้ด้วย
  5. สร้างแรงกดดันให้ตนเอง ในการทำงานควรมีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และหาวิธีที่จะทำให้ได้ตามเป้า นอกจากนั้น นักบัญชียังสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา ด้วยการกำหนดเวลาในการทำงานให้สั้นลง หรือขอทำงานที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
  6. กล้านำเสนอ แนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นประโชน์ต่อบริษัท รวมทั้ง รีบแจ้งผู้มีอำนาจทราบทันที เมื่อพบการทุจริต หรือความเสียหายใดๆ
  7. ทบทวนตนเองทุกปี ตั้งคำถามว่าตนเองต้องการอะไร และในปีที่ผ่านมาทำอะไรไปแล้วบ้าง ยังมีอะไรที่ต้องทำอีกบ้าง มีอะไรที่ผิดพลาดบ้าง เพื่อหาทางแก้ไข และปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น ไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกเป็นครั้งที่สอง
  8. เปิดรับเทคโนโลยี ข้อมูล ข่าวสาร และสิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา นักบัญชีควรหาโอกาสพูดคุยพบปะกับคนในวิชาชีพเดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจวิธีการทำงานของคนอื่น รวมทั้งหมั่นศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบัญชี และภาษีอากรที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ

ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความล้มเหลวในอาชีพนี้
  1. รับงานที่มีความเสี่ยงสูง บางคนรับงานทำบัญชีทุกราย โดยไม่เลือกว่ากิจการใดประกอบธุรกิจอย่างซื่อสัตย์หรือไม่ ช่วยเหลือลูกค้าเลี่ยงภาษีอากร บันทึกตัวเลขบัญชีโดยไม่มีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้อง ให้การช่วยเหลือลูกค้าจนเกินเหตุ ขาดจรรยาบรรณ ท่านอาจเป็นคนกลุ่มแรกที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกดำเนินคดีได้
  2. ยักยอกเงินภาษี บางรายให้บริการยื่นชำระภาษีแทนลูกค้า โดยรับเงินสดจากลูกค้าเพื่อไปยื่นแบบชำระภาษีให้สรรพากร แรกๆ ก็ทำเป็นปกติ ต่อมาการเงินส่วนตัวมีปัญหา นำเงินภาษีที่รับมาจากลูกค้าไปหมุน แล้วนำส่งภาษีไม่ทันอีก เกิดการค้างมากขึ้น ๆ บางรายทำอย่างนี้กับลูกค้าทุกรายที่มี ได้เงินไปหลายแสน บางรายได้ไปนับล้าน จนต้องหนีหายตัวไป ผลเสียตกกับลูกค้าที่ค้างส่งภาษี ทำให้เสียสถาบันวิชาชีพอย่างร้ายแรง
  3. บริการแย่ลง บางรายมีลูกค้าติดต่อมาว่าจ้างมากขึ้นๆ ปริมาณงานที่รับมากเกินกว่าที่จะทำได้ทัน ไม่รีบเร่งแก้ปัญหา รับปากกับลูกค่าว่าจะเสร็จแล้ว ผลัดวันประกันพรุ่ง มีข้อผิดพลาดบ่อย ลืมนัด เลื่อนนัดเป็นประจำ ทำให้ลูกค้าต้องตีจากให้คนอื่นมาทำแทน
  4. ขาดการเอาใจใส่ลูกค้า ปีหนึ่งลูกค้าได้เห็นหน้าเพียงครั้งเดียว หรือไม่ได้ไปพบลูกค้าเลยเป็นปี ๆ และบางรายปล่อยให้ลูกจ้างทำงาน โดยไม่ได้ติดตามผลงาน ถ้าลูกจ้างบริการไม่ดีผลเสียจะตกกับเรา บางรายมีลูกจ้างให้บริการดีเราก็ดีด้วย แต่บางทีลูกจ้างที่ดีลาออกไป ไม่ออกเปล่าแถมดึงลูกค้าเราติดไปด้วยอย่างนี้ก็มีเยอะ
  5. ขาดการพัฒนาตนเอง ไม่มีการติดตามข่าวสารภาษีอากร กฎหมาย กฎกระทรวง ที่ออกมาใหม่ เพื่อนำมาประกอบการใช้งาน จนทำให้การทำงานมีข้อผิดพลาด การศึกษาทางธุรกิจด้านอื่น ๆ ก็ต้องมีความรู้พอเท่าทันลูกค้าบ้างเหมือนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น